วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

หน่วยรบพิเศษ

สงครามนอกแบบ (อังกฤษUnconventional Warfare) เป็นการปฏิบัติที่หน่วยรบพิเศษ ต้องใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด การปฏิบัติที่เข้าไปในประเทศฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่ยังไม่มีสงคราม แล้วสร้างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลขึ้นมาเพื่อบั่นทอนความมั่นคงของรัฐบาลประเทศนั้น ๆ ถ้าต้องการทำสงครามกลุ่มต่อต้านก็จะช่วยกำลังรบตามแบบในการทำการรบได้ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามเย็น จีนได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในความพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลไทย และมีแผนที่จะสนธิกำลังตามแบบ จากเวียดนามในขั้นตอนสุดท้าย แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างทั้งในระดับยุทธศาสตร์และระดับยุทธการ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมาก สงครามนอกแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับสงครามตัวแทน
การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ (อังกฤษCounter Insurgency) เป็นการปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ โดยกลุ่มคนที่มีการวมตัว มีการจัดตั้ง ขึ้นมาเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของกลุ่ม ตั้งแต่วัตถุประสงค์ทางการเมือง ล้มล้างรัฐบาล แบ่งแยกดินแดน จนถึงเข้าแทนที่รัฐบาล การก่อความไม่สงบนี้เป็นภารกิจที่รัฐบาลต้องระดมสรรพกำลังทั้งมวลในการแก้ไข โดยหน่วยรบพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ โดยจะประกอบด้วยงาน การปฏิบัติการจิตวิทยา การปฏิบัติงานด้านการข่าว การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน การปราบปรามกำลังติดอาวุธ
โดยภาพรวมในการปฏิบัติการคือ ดำเนินการป้องกันด้วยการปฏิบัติการจิตวิทยา การข่าวเพื่อคอยติดตามว่า การก่อความไม่สงบจะเกิดขึ้นที่ไหน สาเหตุเงื่อนไขเป็นอะไร ซึ่งตัวเงื่อนไขก็จะสามารถลดลงด้วย การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน แต่ถ้ามีการผิดพลาดของการข่าว การพัฒนาการช่วยเหลือไม่สมดุล ข้าราชการสร้างเงื่อนไข ประกอบกับมีแกนนำหรือกลุ่มบุคคลชี้นำหรือปลุกระดม ก็จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น ก็จะต้องใช้มาตรการการพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากรคือ การสร้างความปลอดภัยให้ประชนชนไม่ว่าจะเป็นจัดชุดคุ้มครอง ลาดตระเวนแสดงกำลัง การห้ามประชาชนออกจากบ้านยามค่ำคืน การตั้งจุดตรวจ พร้อมกับใช้การข่าว การปฏิบัติการจิตวิทยา รวมทั้งทบทวนการพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน ในระหว่างนั้น ถ้าผู้ก่อความไม่สงบเริ่มใช้กำลังติดอาวุธ ก็ต้องใช้กำลัง เข้าปราบปราม
การปฏิบัติการจิตวิทยา (อังกฤษPsychological Operation) เป็นการปฏิบัติเพื่อให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายเป็นกลาง ให้มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของฝ่ายเรา ไม่ว่าจะเป็นการยุยงด้วยการใช้สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบปลิว การกระจายเสียง ให้ทหารชั้นผู้น้อยไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ทำให้เกิดการเดินขบวนของประชาชนในการต่อต้านรัฐบาลตนเอง การสร้างความหวาดกลัวด้วยการใช้ใบปลิว ซึ่งอาจจะทำให้ข้าศึกยอมแพ้โดยไม่ต้องทำการรบ ทั้งโดยการใช้เครื่องขยายเสียง วิทยุ สื่ออินเทอร์เน็ต และการสื่อสารมวลชนด้านอื่นๆ
การปฏิบัติภารกิจโดยตรง (อังกฤษDirect Action) ภารกิจนี้เป็นการใช้กำลังในการเข้าทำลาย ยึดที่หมายที่ต้องการ เพื่อการปฏิบัติการอื่น เช่น การยึดสนามบิน การโจมตีที่เก็บเสบียงหรือที่บัญชาการของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นภารกิจที่สิ้นเปลืองทรัพยากรมาก ตั้งแต่การสร้างหน่วยที่จะไปทำภารกิจนี้ ซึ่งจะทำเมื่อที่หมายดังกล่าวถ้าไม่ยึดหรือทำลายแล้ว ภารกิจจะไม่สำเร็จ
การลาดตระเวนพิเศษ (อังกฤษSpecial Reconnaissance) เป็นการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจโดยหน่วยรบพิเศษโดยลำพังหรือ ผ่านทางกำลังกองโจร วัตถุประสงค์เพื่อการยืนยัน ปฏิเสธข่าวสาร สมมติฐานที่ได้มาก่อน ด้วยการตรวจการณ์ หรือวิธีการรวบรวมอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับขีดความสามารถ เจตนารมณ์ และการปฏิบัติ ของข้าศึกหรือที่มีแนวโน้มจะเป็นข้าศึก การปฏิบัติการลาดตระเวนพิเศษอาจจะเกิดขึ้นเพื่อความต้องการการลาดตระเวนทางนิวเคลียร์ ชีวเคมี หรือเพื่อหาข้อมูลด้านอุตุนิยม อุทกศาสตร์ ภูมิประเทศ ในพื้นที่หนึ่ง

การต่อสู้การก่อการร้าย[แก้]

การต่อต่อต้านการก่อการร้าย (อังกฤษCounter - Terrorist) หมายถึง มาตรการการป้องกันไม่ให้มีเหตุ และติดตามกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ รวมทั้งมาตรการในการตอบโต้ เมื่อมีการก่อการร้ายเกิดขึ้น ส่วนมากบทบาทของหน่วยรบพิเศษ จะอยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการจับตัวประกันโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่มีข้อเรียกร้องทางการเมืองระหว่างประเทศ และข้อเรียกร้องด้านชาติพันธุ์ ศาสนา
ในประเทศไทยมีการจับยึดตัวประกันมาแล้ว ๘ ครั้งแล้วแต่มีการใช้กำลังต่อสู้เพียง ๑ ครั้ง คือเหตุการณ์ที่โรงพยาบาลราชบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2543

การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ[แก้]

การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ เป็นการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมิตรประเทศให้เกิดความมั่นคง ด้วยการสนับสนุนงานด้านต่างๆ เช่น การฝึกเจ้าหน้าที่ตำรวจ การสนับสนุนด้านการศึกษา โดยเป้าหมายคือช่วยให้มิตรประเทศมีความมั่นคง ซึ่งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางอ้อมและนำมาซึ่งความมั่นคงของภูมิภาค

ภารกิจคู่ขนาน[แก้]

ภารกิจคู่ขนาน หมายถึงภารกิจที่มีหน่วยงานอื่นปฏิบัติเป็นหลักอยู่ในขั้นต้น โดยมีหน่วยรบพิเศษสามารถที่จะปฏิบัติการเสริมการปฏิบัติการดังกล่าวได้ กิจกรรมนี้เป็นช่องทางหนึ่งของหน่วยรบพิเศษที่จะสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม ซึ่งตามหลักนิยมของสหรัฐแล้วเป็นเพียงภารกิจที่เสริมการปฏิบัติหลัก โดยเฉพาะการสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นรากฐานของการปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาความปลอดภัย คล้ายกับการเข้าไปติดต่อเริ่มแรกและสามารถสร้างพื้นที่ในการปฏิบัติการป้องกันภายในมิตรประเทศ ซึ่งจะเป็นรูปแบบใหม่ของการเสริมสร้างกำลังกองโจรใน ศนบ. แต่เปลี่ยนจากกำลังกองโจรเป็นกำลังทหารของรัฐบาล ที่จะใช้เป็นพันธมิตรในอนาคต ในการปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน

ทหารรับจ้าง

ทหารรับจ้าง (อังกฤษ: mercenary) คือ บุคคลที่เข้าร่วมในการขัดกันด้วยอาวุธ (armed conflict) โดยที่มิได้มีเชื้อชาติหรือเป็นสมาชิกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ขัดแย้ง แต่ "มีแรงจูงใจให้เข้าร่วมในการขัดกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะมีความประสงค์ส่วนตัวในอันที่จะเอาซึ่ง และอันที่จริง เพราะได้รับคำมั่นของหรือในนามของคู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งว่าจะให้ ค่าตอบแทนเป็นสำคัญ อันมีจำนวนมากมหาศาลยิ่งกว่าที่จะให้หรือได้ให้แก่นายทหารผู้อยู่ระดับเดียวกันและปฏิบัติการหน้าที่ในกองทัพของภาคีนั้น" (พิธีสารที่ 1 เพิ่มเติม อนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม)[1][2]
ผู้ที่เป็นทหารอาชีพที่ไม่ได้รับเกณฑ์ของกองทัพสามัญไม่ถือว่าเป็นทหารรับจ้างแม้ว่าจะได้รับเงินค่าตอบแทนจากบริการที่ให้ ฉะนั้นจึงเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าทหารรับจ้างเป็นผู้ที่มีอาชีพเช่นว่าเพราะเงิน คำว่า “ทหารรับจ้าง” จึงเป็นคำที่มีความหมายเป็นนัยยะในทางลบแม้ว่าจะมีบางกรณีที่เป็นการยกเว้น
ความแตกต่างระหว่าง “ทหารรับจ้าง” และ “อาสาสมัครต่างด้าว” (foreign volunteer) บางครั้งก็ออกจะคลุมเครือเมื่อจุดประสงค์ในการเข้าร่วมการต่อสู้ของกองทหารด้าวไม่เป็นที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่นในกรณีของกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส” (French Foreign Legion) และกองทหารกุรข่า (Brigade of Gurkhas) ที่ไม่ถือว่าเป็น “ทหารรับจ้าง” ภายใต้กฎการยุทธ (laws of war) เพราะแม้ว่าลักษณะของทั้งสองกลุ่มจะตรงกับคำจำกัดความของการเป็นทหารรับจ้างหลายอย่างที่ตรงกับที่ระบุไว้ในข้อ 47 ของพิธีสารที่ 1 เพิ่มเติม อนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม ค.ศ. 1949 แต่ก็ได้รับการยกเว้นภายใต้ข้อ 47 ข้อย่อย (ก), (ค), (ง),(จ) และ (ฉ) แต่จะอย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวบางคนก็ยังใช้คำว่า “ทหารรับจ้าง” ในการกล่าวถึงกองทหารสองกลุ่มนี้[3][4]



ทหารราบ

       ทหารราบ (อังกฤษinfantry) คือทหารที่มีหน้าที่เข้าดำเนินกลยุทธ์ในการรบโดยใช้อำนาจการยิงจากอาวุธประจำกาย เพื่อเข้ายึดพื้นที่ และทำลายข้าศึก มีขีดสามารถเคลื่อนที่โดยตนเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งยานพาหนะเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นเหล่าทหารที่มีจำนวนมากที่สุด ได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งสนามรบ"




อุดมการณ์ทหาร

tk17

                 การสร้างให้ทหารมี อุดมการณ์ จิตวิญญาณ และความเชื่อ จะสามารถช่วยลดปัญหาเรื่องของทหารนอกแถว นอกจากนี้ยังเป็นหลักประกันให้กับอำนาจอธิปไตย และบูรณภาพเหนือแผ่นดินไทย เพราะ ณ วันใดก็ตามที่มีภาวะวิกฤติ ไม่ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายเพียงใด เรายังสามารถที่จะมั่นใจว่าเรามีทหารที่พร้อมที่จะนำชีวิตเข้าแลกโดยไม่ลังเล เพื่อธำรงไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติ เพราะทหารเหล่านั้นไม่ได้มองแค่ผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ แต่ยังต้องคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในการที่จะเป็นทหาร

               ดังนั้นการที่จะสร้างเหล่าทหารทั้งหลายมี อุดมการณ์ จิตวิญญาณ และความเชื่อ ตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มจนไม่ได้เป็นทหาร (ออกจากการเป็นทหาร) จึงเป็นเรื่องที่จะไม่ง่ายนัก เพราะโดยธรรมชาติการที่คนจะยอมอยู่กับความยากลำบาก หรือพร้อมที่จะไปเผชิญกับความยากลำบากได้ตลอดเวลารวมถึงการมีรายได้น้อย เป็นความรู้สึกที่สร้างได้ไม่ง่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปได้ สำหรับกระบวนการในการที่จะสร้างให้ทหารมี อุดมการณ์ จิตวิญญาณ และความเชื่อ ในกิจการทหารจะเรียกกันว่า การปลูกฝังอุดมการณ์ในการเป็นทหารอาชีพ

               กระบวนการปลูกฝังอุดมการณ์การเป็นทหารอาชีพนั้นในกองทัพหลายประเทศทั่วโลกที่นำแนวความคิดทางการทหารแบบตะวันตก มาใช้มักจะกระทำเหมือน ๆ กัน แต่รายละเอียดจะแตกต่างกันตรงการแนวทางและความต่อเนื่อง ซึ่งตรงนี้จะแล้วแต่ประเทศว่ามีค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไร ถ้ากองทัพประเทศใดที่ให้ความสำคัญกับความจำเป็นในการที่จะต้องสร้างกำลังพลให้เป็นทหารอาชีพแล้ว คงจะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยนั้น มองไปที่ความเป็นทหารอาชีพยังไม่เด่นชัด ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะกระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะการยุติของสงครามเย็นที่เป็นไปพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ที่ทำให้ทำให้การดำเนินยุทธศาสตร์ป้องปราม (Deterrence Strategy) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การทูตในเชิงคุกคามที่จะกระทำต่อฝ่ายตรงข้ามก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ ตามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในลักษณะ สองค่ายแบบหละหลวม (Loose-Bipolar) ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นการดำเนินสงครามอสมมาตร (Asymmetric Warfare) ตามความพยายามของสหรัฐอเมริกาที่จะมุ่งไปสู่ความเป็นมหาอำนาจชาติเดียว (Unipolar) ทำให้กองทัพอยู่ภาวะที่ชะงักงันก่อนที่จะทำการปรับเปลี่ยนตัวเอง ผู้นำกองทัพของประเทศที่กำลังพัฒนาเหล่านี้กำลังใช้แนวความคิดเก่า มาใช้กับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่

             สำหรับประเทศไทยของเรานั้น เราคงต้องยอมรับกันตามจริงว่า การปลูกฝังอุดมการณ์ในการเป็นทหารอาชีพนั้น ไม่มีความต่อเนื่อง เพราะหลายคนมีความเชื่อว่า การเข้าศึกษาในโรงเรียนทหาร อย่าง โรงเรียนนายร้อยของแต่ละเหล่าทัพ โรงเรียนนายสิบ โรงเรียนจ่าทหารเรือ และโรงเรียนจ่าอากาศ นั้นมีความเพียงพอในการปลูกฝังความเป็นทหารอาชีพ และสามารถรับราชการโดยไม่ต้องปลูกฝังอุดมการณ์ในการเป็นทหารอาชีพ หลังจากที่จบรับราชการไปแล้ว เรื่องเหล่านี้ถ้าจะว่ากันไปแล้วไม่ใช่เรื่องที่ต้องพูดถึงกันอีก 

หน้าที่ของทหาร

        


      มนุษย์เราทุกคนที่เกิดมา แต่ละคนย่อมมีหน้าที่ประจำของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น เราลองย้อนไปถึงสมัยเมื่อเรายังเป็นเด็ก เราจะเห็นได้ว่าเราเริ่มมีหน้าที่ตั้งแต่ออกมาจากครรภ์มารดา คือ หน้าที่ต้องให้บิดามารดาเป็นผู้เลี้ยงดูเมื่อโตขึ้นมาพอจะเรียนหนังสือได้เราก็มีหน้าที่จะต้องเรียนหนังสือเพื่อศึกษาหาความรู้และช่วยเหลือบิดามารดาทำงานบ้าน เมื่อโตขึ้นมาอายุ ๒๑ ปี ก็จะต้องมีหน้าที่รับใช้ประเทศชาติ พิทักษ์ปกป้องศาสนาและพระมหากษัตริย์ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าคนเราทุกคนย่อมมีหน้าที่ของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น สำหรับทหารมีหน้าที่ขณะรับราชการอยู่ด้วยกัน ๒ ประการ คือหน้าที่ของทหารในยามปกติและหน้าที่ของทหารในยามสงคราม

ประวัติทหารอากาศ




           กิจการบินของไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชาวต่างประเทศ ได้นำเครื่องบิน มาแสดงให้ชาวไทย ได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 อันทำให้ ผู้บังคับบัญชา ระดับสูง ของกองทัพ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องบิน ไว้เพื่อป้องกันภัย ที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ กระทรวงกลาโหม จึงได้ตั้ง "แผนกการบิน" ขึ้นในกองทัพบก พร้อมทั้งได้คัดเลือกนายทหารบก 3 คน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม ไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศฝรั่งเศส อันได้แก่ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ทั้ง 3 ท่านนี้ ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ ตามลำดับ คือ  พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์  และ  นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต และ กองทัพอากาศได้ยกย่องให้เป็น  "บุพการีของกองทัพอากาศ"   
 
บุพการีกองทัพอากาศ 1
พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ
(สุณี สุวรรณประทีป)
บุพการีกองทัพอากาศ 2
นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์
(หลง สิน-ศุข)
บุพการีกองทัพอากาศ 3
นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต
(ทิพย์ เกตุทัต)

 
ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้นทางราชการ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน รวมทั้ง มีผู้บริจาคเงินร่วมสมทบซื้อด้วยเป็นครั้งแรก จำนวน 8 เครื่อง คือเครื่องบินเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 4 เครื่อง และ เครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง อันอาจกล่าวได้ว่า กำลังทางอากาศของไทย เริ่มต้นจากนักบินเพียง 3 คน และเครื่องบินอีก 8 เครื่องเท่านั้น การบินของไทยในระยะแรก ได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน เป็นสนามบิน แต่ด้วยความไม่สะดวกหลายประการ บุพการีทั้ง 3 ท่าน จึงได้พิจารณาหาพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมต่อการบิน และได้เลือกเอาตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร สถานที่โรงเก็บเครื่องบินอย่างถาวรขึ้น เมื่อการโยกย้ายกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องบิน ไปไว้ยังที่ตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก" ซึ่งถือได้ว่า กิจการการบินของไทย ได้วางรากฐานอย่างมั่นคงขึ้นแล้ว ตั้งแต่บัดนั้นมา กองทัพอากาศจึงถือเอา วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"
ทหารในกองบินทหารบก ซึ่งเข้ารับราชการที่ดอนเมือง ก่อนไปราชการสงครามยุโรปนับแต่นั้นมา บทบาทของกำลังทางอากาศ ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับ นับตั้งแต่การเข้าร่วมรบ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับพันธมิตรในยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2460 ซึ่งทำให้ชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ของชาติ เป็นที่ยอมรับ และยกย่อง เป็นอันมาก และทางราชการได้ยกฐานะ กองบินทหารบกขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก" ในเวลาต่อมา กำลังทางอากาศ ได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาประเทศชาติทางด้านต่างๆ อันเป็นรากฐาน ของกิจการหลายอย่างในปัจจุบัน อาทิ การบินส่งไปรษณีย์ทางอากาศ การส่งแพทย์ และเวชภัณฑ์ทางอากาศ เป็นต้น

เครื่องบินแบบเบรเกต์ที่ซื้อมารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2464 กระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศ มิได้เป็นกำลังเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์ อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่นๆ อีกด้วย จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจาก กรมอากาศยานทหารเป็น "กรมอากาศยาน" และเป็น "กรมทหารอากาศ" ในเวลาต่อมา โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยตรง พร้อมทั้งได้มีการกำหนดยศทหาร และการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบ จากสีเขียว มาเป็นสีเทา ดังเช่นปัจจุบัน วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 กรมทหารอากาศได้ยกฐานะเป็น"กองทัพอากาศ" มีนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรกกองทัพอากาศ จึงได้ถือเอาวันที่ 9 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันกองทัพอากาศ"

 
กำลังทางอากาศ ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย และได้เป็นกำลังสำคัญในการปกป้อง รักษาอธิปไตยของชาติ อาทิ สงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส และสงครามมหาเอเชียบูรพา รวมทั้งเข้าร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติ ในสงครามเกาหลี และร่วมกับพันธมิตร ในสงครามเวียดนาม จากเครื่องบินใบพัดเพียง 8 เครื่องในอดีต จนมาถึงเครื่องบินไอพ่นที่ทันสมัย ในปัจจุบัน กองทัพอากาศ ขอยืนยัน ที่จะดำรงความมุ่งมั่นในภารกิจ ที่จะพิทักษ์ รักษาเอกราช และอธิปไตยของชาติ ไว้ให้มั่นคงสถาพตลอดไป

ประวัติทหารบก


กองบัญชาการกองทัพบก สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

                    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๙ กิจการแรกที่พระองค์ทรงกระทำ คือ ทรงตั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และให้จัดการเรื่องกิจการทหารเป็นการด่วน โดยให้ปรับปรุงกองทัพบกให้เป็นแบบสมัยใหม่ และมีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันประเทศชาติได้ ทั้งนี้เพราะประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามาอยู่เหนือประเทศทางภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ และมีท่าทีคุกคามต่อประเทศไทยยิ่งขึ้นตามลำดับ สำหรับการปรับปรุงในด้านวิทยาการนั้น พระองค์ทรงจ้าง ร้อยเอก อิมเปย์ และ ร้อยเอก น็อกส์ ชาวอังกฤษ ซึ่งเดินทางจากอินเดียผ่านเข้ามาทางพม่า ให้เป็นครูฝึกหัดทหารบก ทั้งทหารของวังหน้าและวังหลวง ดังนั้นใน พ.ศ.๒๓๙๕ กองทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก มีดังนี้
๑. กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป
๒. กองทหารหน้า
๓. กองปืนใหญ่อาสาญวน
                    กองทหารหน้าเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกแบบใหม่ มีอาวุธใหม่ และมีทหารประจำการมากกว่าทหารหน่วยอื่น ๆ ทั้งยังมีความชำนาญในการรบมาพอสมควร เนื่องจากได้เข้าสมทบในกองทัพหลวงไปทำศึกที่เมืองเชียงตุง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ และ พ.ศ.๒๓๙๖ การศึกทั้ง ๒ ครั้งนี้ กองทหารหน้าได้สำแดงเกียรติภูมิในหน้าที่ของตนไว้อย่างน่าชมเชย จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ยามปกติกองทหารหน้ามีหน้าที่เข้าขบวนแห่นำตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกคราว นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่น ปราบปรามพวกอั้งยี่ที่มณฑลปราจีน และเมืองชลบุรีอีกด้วย จึงนับได้ว่า " กองทหารหน้า " นี้เองเป็นรากเหง้าของกองทัพบกในปัจจุบันนี้
                    กิจการทหารบกได้รุดหน้าไปอีก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองทหารหน้าใน พ.ศ.๒๓๙๘ พระองค์ทรงรวบรวมกองทหารที่อยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วกรุงเทพฯ มารวมไว้ที่เดียวกัน คือโรงทหารสนามไชย กองทหารดังกล่าวคือ
๑. กองทหารฝึกแบบยุโรป (เดิมอยู่ริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตะวันออก)
๒. กองทหารมหาดไทย (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
๓. กองทหารกลาโหม (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
๔. กองทหารเกณฑ์หัด (คือพวกขุนหมื่นสิบยก กองทหารเกณฑ์หัดนี้ ขึ้นกับกองทหารหน้า)
                    จะเห็นได้ว่า การจัดการทหารบกแบบตะวันตกหรือกองทัพบกปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เป็นไปในวงแคบ อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาทหารในกรุงเทพฯ แยกออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ทหารที่สังกัดพระบรมมหาราชวังขึ้นโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารที่สังกัดพระบวรราชวัง หรือวังหน้า ขึ้นโดยตรงต่อ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารในหัวเมืองก็แยกขึ้นกับ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก ยังไม่มีกองบัญชาการกองทัพบกเป็นหน่วยควบคุมดูแลกิจการของกองทัพเป็นส่วนรวม สำหรับโรงทหารและสนามฝึกหัดทหารก็สุดแล้วแต่ว่าขึ้นอยู่กับผู้ใด ใครเป็นผู้บัญชาการของทหารหน่วยใด โรงทหารก็จะตั้งอยู่บริเวณบ้านท่านผู้นั้น

ประวัติทหารเรือ

              กิจการบินของไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชาวต่างประเทศ ได้นำเครื่องบิน มาแสดงให้ชาวไทย ได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 อันทำให้ ผู้บังคับบัญชา ระดับสูง ของกองทัพ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องบิน ไว้เพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ กระทรวงกลาโหม จึงได้ตั้ง "แผนกการบิน" ขึ้นในกองทัพบก พร้อมทั้งได้คัดเลือกนายทหารบก 3 คน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม ไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศฝรั่งเศส อันได้แก่ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ทั้ง 3 ท่านนี้ ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ ตามลำดับ คือพลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต และ กองทัพอากาศได้ยกย่องให้เป็น "บุพการีของกองทัพอากาศ"
          ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้นทางราชการ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน รวมทั้งมีผู้บริจาคเงินร่วมสมทบซื้อด้วยเป็นครั้งแรก จำนวน 8 เครื่อง คือเครื่องบินเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 4 เครื่อง และ เครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง อันอาจกล่าวได้ว่า กำลังทางอากาศของไทย เริ่มต้นจากนักบินเพียง 3 คน และเครื่องบินอีก 8 เครื่องเท่านั้น การบินของไทยในระยะแรก ได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน เป็นสนามบิน แต่ด้วยความไม่สะดวกหลายประการ บุพการีทั้ง 3 ท่าน จึงได้พิจารณาหาพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมต่อการบิน และได้เลือกเอาตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร สถานที่โรงเก็บเครื่องบินอย่างถาวรขึ้น เมื่อการโยกย้ายกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องบิน ไปไว้ยังที่ตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก" ซึ่งถือได้ว่า กิจการการบินของไทย ได้วางรากฐานอย่างมั่นคงขึ้นแล้ว ตั้งแต่บัดนั้นมา กองทัพอากาศจึงถือเอา วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"
          ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้นทางราชการ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน รวมทั้ง มีผู้บริจาคเงินร่วมสมทบซื้อด้วยเป็นครั้งแรก จำนวน 8 เครื่อง คือเครื่องบินเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 4 เครื่อง และ เครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง อันอาจกล่าวได้ว่า กำลังทางอากาศของไทย เริ่มต้นจากนักบินเพียง 3 คน และเครื่องบินอีก 8 เครื่องเท่านั้น การบินของไทยในระยะแรก ได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน เป็นสนามบิน แต่ด้วยความไม่สะดวกหลายประการ บุพการีทั้ง 3 ท่าน จึงได้พิจารณาหาพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมต่อการบิน และได้เลือกเอาตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร สถานที่โรงเก็บเครื่องบินอย่างถาวรขึ้น เมื่อการโยกย้ายกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องบิน ไปไว้ยังที่ตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก" ซึ่งถือได้ว่า กิจการการบินของไทย ได้วางรากฐานอย่างมั่นคงขึ้นแล้ว ตั้งแต่บัดนั้นมา กองทัพอากาศจึงถือเอา วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"