ทหารรับจ้าง (อังกฤษ: mercenary) คือ บุคคลที่เข้าร่วมในการขัดกันด้วยอาวุธ (armed conflict) โดยที่มิได้มีเชื้อชาติหรือเป็นสมาชิกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ขัดแย้ง แต่ "มีแรงจูงใจให้เข้าร่วมในการขัดกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะมีความประสงค์ส่วนตัวในอันที่จะเอาซึ่ง และอันที่จริง เพราะได้รับคำมั่นของหรือในนามของคู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งว่าจะให้ ค่าตอบแทนเป็นสำคัญ อันมีจำนวนมากมหาศาลยิ่งกว่าที่จะให้หรือได้ให้แก่นายทหารผู้อยู่ระดับเดียวกันและปฏิบัติการหน้าที่ในกองทัพของภาคีนั้น" (พิธีสารที่ 1 เพิ่มเติม อนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม)[1][2]
ผู้ที่เป็นทหารอาชีพที่ไม่ได้รับเกณฑ์ของกองทัพสามัญไม่ถือว่าเป็นทหารรับจ้างแม้ว่าจะได้รับเงินค่าตอบแทนจากบริการที่ให้ ฉะนั้นจึงเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าทหารรับจ้างเป็นผู้ที่มีอาชีพเช่นว่าเพราะเงิน คำว่า “ทหารรับจ้าง” จึงเป็นคำที่มีความหมายเป็นนัยยะในทางลบแม้ว่าจะมีบางกรณีที่เป็นการยกเว้น
ความแตกต่างระหว่าง “ทหารรับจ้าง” และ “อาสาสมัครต่างด้าว” (foreign volunteer) บางครั้งก็ออกจะคลุมเครือเมื่อจุดประสงค์ในการเข้าร่วมการต่อสู้ของกองทหารด้าวไม่เป็นที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่นในกรณีของกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส” (French Foreign Legion) และกองทหารกุรข่า (Brigade of Gurkhas) ที่ไม่ถือว่าเป็น “ทหารรับจ้าง” ภายใต้กฎการยุทธ (laws of war) เพราะแม้ว่าลักษณะของทั้งสองกลุ่มจะตรงกับคำจำกัดความของการเป็นทหารรับจ้างหลายอย่างที่ตรงกับที่ระบุไว้ในข้อ 47 ของพิธีสารที่ 1 เพิ่มเติม อนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม ค.ศ. 1949 แต่ก็ได้รับการยกเว้นภายใต้ข้อ 47 ข้อย่อย (ก), (ค), (ง),(จ) และ (ฉ) แต่จะอย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวบางคนก็ยังใช้คำว่า “ทหารรับจ้าง” ในการกล่าวถึงกองทหารสองกลุ่มนี้[3][4]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น